ReadyPlanet.com


ค่าธรรมเนียมบัตรเครดิต หลังตาย (คลายเครียด)


นาง A (นามสมมุติ) เสียชีวิตไป เมื่อเดือน มกราคม ปีนี้เอง

ธนาคารสี่ตี้แบงค์ ได้ส่งใบเรียกเงินมาเก็บค่าธรรมเนียมประจำปีของบัตรเครดิต

ซึ่งบิลมาถึงเธอในเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม

พร้อมทั้งเรียกเก็บ ค่าปรับ ที่เธอชำระล่าช้า

พร้อมดอกเบี้ยของยอดที่เรียกเก็บ

ซึ่งในความเป็นจริง เธอไม่ได้ใช้บัตรนั้น มาตั้งแต่วันที่ตาย

แต่บัดนี้ ยอดทั้งหมดที่เรียกเก็บ กลายเป็น จำนวน

สองพันกว่าบาท เข้าไปแล้ว

ญาติของเธอ จึงโทรศัพท์ไปยังธนาคาร

ญาติผู้ตาย : ดิฉันโทรมาแจ้งว่า คุณ A (นามสมมุติ) เสียชีวิตแล้วคะ ตั้งแต่เดือนมกราคม

เจ้าหน้าที่ธนาคาร : ยังไม่มีการแจ้งปิดบัญชีนะคะ ดังนั้น ค่าปรับ การชำระช้า จึงต้องเรียกเก็บคะ

ญาติผู้ตาย : งั้น... ช่วยยกเลิกบัตรให้ ได้ไหมคะ

เจ้าหน้าที่ธนาคาร : แต่มันช้ามาสองเดือนแล้วนะคะ ที่เรียกเก็บไม่ได้ และธนาคารได้ออกใบเรียกเก็บไปแล้วคะ

ญาติผู้ตาย : ตามปกติ ถ้าลูกค้าเกิดตายไป ทางธนาคารจะจัดการอย่างไรต่อคะ

เจ้าหน้าที่ธนาคาร : เราอาจต้องแจ้งหน่วยคดีฉ้อโกง หรือไม่ ก็แจ้งไปยังเครดิตบูโรค่ะ หรือไม่ ก็แจ้งไปทั้งสองที่คะ

ญาติผู้ตาย : แล้วยมบาลจะโกรธเธอไหมคะ? (ฉันชอบคำถามนี้ของตัวเองจริงๆ)

เจ้าหน้าที่ธนาคาร : อะไรนะคะ?

ญาติผู้ตาย : คุณได้ยินหรือเปล่าคะ ที่ดิฉันบอกว่า เธอตายไปแล้วน่ะคะ

เจ้าหน้าที่ธนาคาร : รอสักครู่คะ คุยกับหัวหน้าดีกว่าคะ

สักครู่... หัวหน้ารับโทรศัพท์ไปพูดต่อ...


ญาติผู้ตาย : ดิฉันโทรมาแจ้งให้ทราบว่า เจ้าของบัตร เสียชีวิตไป ตั้งแต่เดือนมกราแล้วคะ

หัวหน้าธนาคาร : ยังไม่มีการแจ้งปิดบัญชีนะครับ ดังนั้น ค่าปรับ การชำระช้า จึงต้องเรียกเก็บครับ
(สงสัย เป็นประโยคที่ทางธนาคาร มีไว้ให้ใช้ ตอบกับลูกค้า)

ญาติผู้ตาย : หมายความว่า จะต้องเรียกเก็บจากที่ดินของเธอหรือคะ

หัวหน้าธนาคาร : (ชักเริ่มติดอ่าง) คุณเป็นทนายความของเธอหรือครับ?

ญาติผู้ตาย : เปล่าคะ ดิฉันเป็นลูกของเธอน่ะคะ


หัวหน้าธนาคาร : กรุณาช่วยแฟกซ์ ใบ มรณบัตร ของเธอ มาได้ไหมครับ

ญาติผู้ตาย : ยินดีคะ (ทางธนาคารแจ้งเบอร์แฟกซ์)

หลังจากได้รับแฟกซ์เรียบร้อย...


หัวหน้าธนาคาร : ทางระบบของเรา ไม่ได้บอกว่า จะให้จัดการอย่างไร ในกรณีที่ลูกค้าเสียชีวิต ผมก็ไม่ทราบว่า จะช่วยเหลือคุณ ได้อย่างไร

ญาติผู้ตาย : อ๋อคะ คิดต่อไปนะคะ ถ้ายังคิดไม่ออก ก็เรียกเก็บเงินเธอไปเรื่อยๆ ก็แล้วกัน เธอคงไม่ว่าอะไรหรอกคะ

หัวหน้าธนาคาร : ครับ… ค่าปรับ การชำระช้า ก็ต้องเรียกเก็บต่อไปนะครับ

ญาติผู้ตาย : ไม่ทราบต้องการที่อยู่ใหม่ของคุณ A (นามสมมุติ)ไหมคะ

หัวหน้าธนาคาร : ดีเลยครับ

ญาติผู้ตาย : บริเวณปากน้ำ แม่น้ำเจ้าพระยา สมุทรปราการคะ

หัวหน้าธนาคาร : ขอประทานโทษครับ... นั่นมันเป็นแม่น้ำนี่ครับ

ญาติผู้ตาย : อ้าว!!... แล้วเวลาญาติพวกคุณตาย เอาอังคารไปลอยแถวไหนหรือคะ

 

-------------------------------------------------------------------------------------

บัตร Citibank มีค่าธรรมเนียมรายปีทุกบัตรครับ แต่เงื่อนไขการยกเว้นค่าธรรมเนียมขึ้นอยู่กับประเภทบัตร เช่น

บัตร Cashback และ Clear ต้องใช้ปีละ 48,000 ถึงจะยกเว้นค่าธรรมเนียมให้
บัตร Visa Choice ต้องใช้อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง (ไม่จำกัดจำนวนเงิน) ถึงจะยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปีให้
บัตร ROP ทุกประเภท (ตามหลักการ) ไม่ยกเว้นค่าธรรมเนียมให้
บัตรทองและแพลตินัมรีวอร์ด ใช้ปีละ 100,000 ยกเว้นค่าธรรมเนียมให้
บัตรแพลตินัมซีเลค (ตามหลักการ) ไม่ยกเว้นค่าธรรมเนียมให้
บัตร Citibank Ready Credit กดเงินสดอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ยกเว้นค่าธรรมเนียมให้

บางคนที่บอกว่าเขาไม่คิดค่าธรรมเนียม บางครั้งผู้ใช้อาจจะใช้ถึงยอดที่เขากำหนดโดยที่ไม่รู้ตัวสำหรับบางบัตรก็ได้ครับ ก็ไม่เลยไม่มียอดเรียกเก็บค่าธรรมเนียมรายปีมา

------------------------------------------------------------------------------------

ผู้อ่านทั่วไป

ถ้าว่ากันตามกฎหมาย

หนี้บัตรเครดิตเป็นของเฉพาะบุคคลครับ ไม่มีพ่วงมาทางลูก ๆ หรือญาติ ๆ นอกจากจะเป็นพ่วงบัตรเสริม แต่ ....

มีสิทธิฟ้องยึดทรัพย์ได้ครับ ประมาณเป็นที่มรดกของผู้ตายครับ ฉะนั้นทางที่ดีควรจะโอน ๆ มาให้หมด ไม่งั้นจะเหนื่อยตอนไปต่อสู้กับศาลครับ

หรือถ้าตอนยังมีชีวิต และยังเป็นหนี้อยู่ แบบทำงานไม่ใหวแล้ว ป่วยหนักมาก ๆ พยายามให้ทรัพย์สิน หลักทรัพย์อยู่กับตัวให้น้อยที่สุดครับ ทำเป็นซื้อขายให้ลูก ๆ ไปเลยครับ อย่ามอบทำพินัยบกรรมเป็นมรดกครับ ไม่งั้นจะยุ่งยากมาก ๆ ในการต่อสู้

ถูกผิดขออภัยครับ ไม่ได้เรียนกฎหมาย

----กรณีแบบนี้ ทนายฝ่ายตรงข้าม นำสืบได้ครับ ว่าน่าสงสัยว่าจะเป็นนิติกรรมอำพราง ไม่ได้ มีเจตนาจะซื้อขายกันจริงๆ

ยิ่งถ้าไม่ได้มีการจ่ายเงินกันจริง หรือ มีการจ่ายน้อยกว่าราคาทรัพย์สินที่โอนไปมากๆ เทียบจากราคาตลาด ยิ่งเห็นเจตนาชัดเจนว่าเป็นการโกงเจ้าหนี้

แบบนี้มีความผิดด้วยนะครับ
---------------------------------------------------------------------------------

 

ค่าธรรมเนียม บัตร คิดได้จนถึงวันที่ตายครับ

ส่วนเงินที่ค้างชำระอยู่ก่อน รวมถึงค่าธรรมเนียมบัตรจนถึงวันที่ตาย ทายาทที่ได้รับมรดกจากผู้ตายต้องรับผิดชดใช้ แต่ไม่เกินมรดกที่ตนได้รับ



ผู้ตั้งกระทู้ ยกเลิกบัตรเครดิตไปแล้ว :: วันที่ลงประกาศ 2010-03-13 15:43:30


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3016209)
พี่สาวดิฉันเพิ่งเสียชีวิตไปเมื่อเดือนมกราคม 58 ค่ะ เป็นโสด ทำงานขับรถลีมูซีนไม่มีบริษัทสังกัด มีหน้าที่รับ-ส่งเจ้านายต่างชาติ เฉพาะรายแล้วแต่จะให้ไปส่ง อาศัยตัวคนเดียวอยู่นอกบ้านกว่า 20ปี มีรถเก๋งวอลโว่ 960 เพียงคันเดียวใช้ในอาชีพ ก่อนตายพี่สาวยกให้ดิฉันไว้ขับรับใช้แม่อายุ 82 ปี ไปทำบุญหรือไปหาหมอ ประเด็นนี้ดิฉันจะต้องรับผิดชอบหนี้ของพี่สาวหรือไม่ รถจะถูกยึดเพื่อชำระหนี้หรือไม่ ถ้าเป็นกรณีหลัง ในฐานะที่ดิฉันเป็นข้าราชการ ดิฉันจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรบ้างคะ ่ขอความกรุณาด้วยค่ะ เกษร อึ้งสวรรค์
ผู้แสดงความคิดเห็น KS วันที่ตอบ 2015-02-26 17:28:00



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.